วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

DrSant: หมอสันต์แนะนำตัวเอง ในโอกาสที่มีผู้อ่านครบ 4 ล้านค...

DrSant: หมอสันต์แนะนำตัวเอง ในโอกาสที่มีผู้อ่านครบ 4 ล้านค...:      วันนี้เป็นวันที่ผู้มีผู้อ่านบล็อกนี้ครบ 4,000,000 ครั้ง ทุกวันจะมีคนเปิดอ่านวันละประมาณ 5,000 ครั้ง ตอนกลางวันอ่านกันชั่วโมงละประมาณ 3...

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ว่าด้วยเรื่อง ขอม


อ.ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์

ปราสาทตาพรหม สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. ๑๗๒๙ เป็นปราสาทหินในยุคท้ายๆ ของอาณาจักรขอม ปราสาทเหล่านี้ถือว่าเป็นสถานที่ของพระพุทธศาสนาที่สมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เพราะสมัยนั้นกษัตริย์ที่สนับสนุนให้มีการสร้างปราสาทนี้เป็นวัดในศาสนาพุทธ

พระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๘ หันกลับมานับถือศาสนาฮินดูเป็น ใหญ่ ปราสาทตาพรม จึงเป็นปราสาทแห่งหนึ่ง ที่มีร่องรอยการทำลายมากที่สุด เพราะความต่างของการนับถือศาสนา ปราสาทตาพรมจึงไม่หลงเหลือศิลปะให้พวกเราได้เห็นมากนัก

การดูแลปราสาทต่างๆนั้นรัฐบาลได้ทำการตัดต้นไม้ออกจากปราสาทอื่นๆ เพราะกลัวว่าประสาทจะล้มลงหากต้นไม้ใหญ่โตมากๆ แต่สำหรับปราสาทตาพรมนั้น รัฐบาลมีแนวคิดที่จะคงต้นไม้ไว้เหมือนโบราณที่มีต้นไม้ขึ้นบนปราสาทแทบทุกปราสาทจึงกลายเป็น ลักษณะเด่นของปราสาทตาพรหมคือมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นคลุมตัวปราสาทเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากใช้ถ่ายทำหนังหลายเรื่อง เช่น ทูมไรเดอร์ เจมส์บอนด์ ฯลฯ นักท่องเที่ยวจึงเข้าคิวเพื่อถ่ายรูปกับรากไม้มากกว่าซาบซึ้งในศิลปกรรม





------------------------------------------------------------------------------------------
ออกจากปราสาทพระขรรค์ ถ้าไม่ดูปราสาทตาพรหม ก็ควรจะเลยไปชมประสาทนาคพัน ๆ เป็นปราสาท ที่มีความสำคัญสำหรับเมืองพระนคร ถือว่าเป็นหลัก เป็นศูนย์รวมของเมือง ตัวปราสาทเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุโดยแท้

ปราสาทนาคพัน เป็นปราสาทขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฐานกลมที่มีลักษณะซ้อนลดหลั่นกันลงไปเป็นชั้นๆ ชั้นล่างสุดเป็นรูปพญานาค ๗ เศียร ๒ ตัว โอบล้อมฐานของปราสาทโดยหันส่วนหัวไปทางทิศตะวันออก และส่วนหาง วนอ้อมฐานมาบรรจบกันทางทิศตะวันตก ที่ฐานของปราสาทจำหลักรูปดอกบัวรองรับตัวปราสาท และมีรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประดิษฐานอยู่ที่ปราสาททั้ง ๔ ทิศ

ปราสาทนาคพัน สร้างอยู่กลางสระสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ มีสระน้ำขนาดเล็กตั้งอยู่โดยรอบทั้ง ๔ทิศ แต่ละสระมีส่วนที่เชื่อมต่อกับสระใหญ่ตรงกลางเพื่อให้น้ำจากสระใหญ่สามารถไหลไปสู่สระเล็กได้ 

การก่อสร้างปราสาทนาคพัน จึงออกแบบให้เกี่ยวข้องกับคติความเชื่อทางศาสนา ผังของปราสาทเป็นลักษณะการจำลองของสระอโนดาต ที่เป็นสระน้ำบนสวรรค์ กำหนดให้มีน้ำที่ใสสะอาดและเต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา 

รูปจำหลักในทิศทั้ง ๔ ของปราสาทนาคพัน นั้นแยกออกตามความเชื่อในเรื่องแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ทั้ง ๔ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา สินธุ และพรหมบุตร โดยจำหลักรูปปากน้ำที่ไหลออกจากสระน้ำใหญ่ ดังนี้ คือ 

สระน้ำเล็กด้านทิศตะวันตก สลักเป็นรูปหัวมนุษย์ แทนรูปหัววัว
สระน้ำเล็กทางทิศเหนือมีหิน สลักเป็นรูปหัวช้าง 
สระน้ำเล็กทางทิศตะวันออก สลักเป็นรูปหัวม้า 
และ สระน้ำเล็กทางทิศใต้ สลักเป็นรูปหัวสิงห์ 

เชื่อกันว่า เมื่อเริ่มต้นสถาปนากรุงศรีอยุธยา ในพระราชพงศาวดาร กล่าวถึง ขอมแปรพักตร จึงส่งพระราเมศวร ไปตีเมืองพระนคร แต่ตีไม่ได้ จึงให้พระเจ้าลุง คือ ขุนหลวงพะงั่ว ออกไปช่วยพระเจ้าหลานตีเมืองพระนคร นัยว่า ขุนหลวงพะงั่ว ได้เข้าทำทำลายศูนย์ความเชื่อของเมืองพระนคร ที่ปราสาทนาคพัน ด้วยการเจาะระบายน้ำออกจากสระทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ทำให้หลักความเชื่อมั่นของเมืองทูกทำลายลง เป็นผลทำให้ขุนหลวงพะงั่วตีเอาเมืองพระนครได้

--------------------------------------------------------------------------------------------------

ปราสาทพระขรรค์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1734 เป็นปราสาทหินในยุคท้าย ๆ ของอาณาจักรเขมร เป็นพุทธสถานสมัยบายน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างอุทิศถวายแด่พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชบิดา ปรากฏเจดีย์ทรงระฆังคว่ำขนาดเล็กจำหลักด้วยศิลาทรายตั้งอยู่ภายในปราสาทองค์หนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เก็บอัฐิของพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ปราสาทพระขรรค์ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เพื่ออุทิศถวายให้กับพระราชบิดาของพระองค์ หลังจากพระองค์ทรงสร้างปราสาทตาพรหม ถวายแก่พระราชมารดาของพระองค์ไปแล้ว ๕ ปี ศาสนสถานแห่งนี้ก็เช่นเดียวกับศาสนาสถานแห่งอื่นๆ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา มีอาณาบริเวณกว้างขวางมาก จากโคปุระที่จะนำไปสู่กำแพงด้านทิศตะวันตก ทำเป็นรูปประติมากรรมลอยตัวรูปอสูรฉุดนาคและเทวดาฉุดนาคเป็นแนวยาวกว่า ๑๐๐ เมตร เรียกกันว่า สะพานนาคราช จากสะพานนาคราชไปจะเป็นทางเดิน ที่สองข้างทางประกอบด้วยเสานางเรียงอยู่ตลอดระยะทางกว่า ๓๐๐ เมตร ที่กำแพงทางเข้าปราสาทมีประติมากรรมที่สวยงาม คือ รูปสลักนูนสูงเป็นรูปครุฑขนาดสูงเท่าตัวกำแพงศิลาแลง ครุฑใช้มือทั้งสองจับหางของนาค ส่วนขาของครุฑทั้งสองข้างก็จับลำตัวของนาค ประติมากรรมนี้จะพบเห็นได้ที่ด้านข้างโคปุระที่กำแพงปราสาททั้ง ๔ ทิศ ถัดมาทางด้านซ้ายของโคปุระทางด้านตะวันออกมีอาคาร ๒ ชั้น ลักษณะของเสาทั้งหมดเป็นเสากลม คล้ายทรงโรมัน ความสูงของเสานี้ประมาณ ๓ เมตร ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ยังสันนิษฐานไม่ได้ว่าถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์อะไร ภาพสลักประดับส่วนต่างๆ ของอาคารเป็นภาพเทพในศาสนาพราหมณ์ ( ฮินดู ) เช่นภาพสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ภาพการกวนเกษียรสมุทร ภาพการรบระหว่างทัพลิงกับยักษ์ ส่วนรูปทรงนางอัปสรตามกรอบประตูและกำแพงด้านในก็มีให้เห็นโดยทั่วไป ส่วนภาพสลักที่เป็นคติธรรมทางพุทธศาสนาถูกสกัดออกหรือดัดแปลงไปเป็นส่วนใหญ่เหลือเพียงเสานางเรียงหน้าโคปุระกำแพงทิศตะวันออกของปราสาทซึ่งไม่ได้ถูกกะเทาะออกไป สันนิษฐานว่าการดัดแปลงศาสนาสถานแห่งนี้ให้เป็นเทวสถานเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๘ ซึ่งทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ ( ฮินดู)

ลักษณะจะใกล้เคียงกันปราสาทตาพรหม และอยู่ไม่ห่างกัน สร้างสมัยเดียวกัน และอยู่ไม่ห่างกันนัก ถ้าไป ต้องเลือก หรือ จะดูทั้งสองปราสาทก็ตามใจ เพราะเสียค่าตั๋วมาแล้ว




-----------------------------------------------------------------------------------------
ปราสาทบายน เป็นปราสาทหินของอาณาจักรขอม ตั้งอยู่ใจกลางนครธม หรือ นครหลวง เปรียบประหนึ่งศูนย์กลางของจักรวาล เป็นวัดประจำพระองค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สร้างในระหว่างปี พ.ศ.๑๗๒๔ -๑๗๖๓ หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงได้รับชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปา 

ปราสาทบายน นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่ครั้งนับถือ เทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา 

ลักษณะของปราสาทบายน มีความแตกต่างไปจากปราสาทหลัง อื่น ๆ ที่สร้างขึ้นก่อนหน้านั้น ด้วยเหตุที่ยอดซุ้มโคปุระ หรือ ห้อง จำนวน ๔๙ ยอด ประกอบเป็นใบหน้ามนุษย์หรือเทพหันหน้าออกทั้งสี่ทิศ ที่เปรียบได้ว่าเป็นพรหมพักตร์ หรือ บางแนวคิดก็ว่าเป็นใบหน้าของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร แต่เชื่อว่า รูปเค้าพระพักตร นั้น เป็นใบหน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ 

เวลาเข้าไปเดินเข้าไปในปราสาทกรุณาตั้งสติให้มั่นคง และอย่าเดินเพลินอยู่เพียงคนเดียว ...เพราะท่านกำลังอยู่ในสายพระเนตรของสิ่งลึกลับที่กำลังสาธยายมนตราแห่งไสยเวทย์ ในลัทธิตันตระ อยู่ตลอดเวลา


------------------------------------------------------------------------------------------------------------


ออกจากร้านอาหารแล้ว เดินทางกลับเข้าไปในกลุ่มโบราณสถาน เพื่อดูปราสาทนครวัด ๆ ช่วงเช้าจะไม่ค่อยมีคนเข้าชม ส่วนใหญ่จะเข้าชมตอนช่วงบ่าย และอยู่ไปจนมืด เพราะ ปราสาทนครวัดหันหน้าไปทางทิศตะวันตก แสงอาทิตย์ตกจะสาดส่องตัวปราสาทให้เห็นเป็นสีทอง สวยงามอย่างยิ่ง

ปราสาทนครวัดตั้งอยู่ในเมืองพระนคร เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ต่อมาได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพุทธสถาน

ปี พ.ศ.๑๗๒๐ กองทัพชาวจามได้เข้าบุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ต้องทำสงครามยืดเยื้อยาวนาน พระองค์ต้องย้ายเมืองหลวงไปทางด้านทิศเหนือของนครวัด สร้างเมืองพระนคร หรือ นครธม โดยมีปราสาทบายน เป็นศูนย์กลางของเมืองหลวงใหม่

ภายหลังจากการพ่ายแพ้สงครามแก่กษัตริย์สยาม ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ชาวเขมรก็ทิ้งทั้งนครวัดและนครหลวง ย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ พนมเปญ ศาสนสถาน หรือปราสาทส่วนใหญ่ตกเป็นที่รกร้าง ว่างเปล่าผู้คนเข้าอยู่อาศัยและบำรุงรักษามาเป็นระยะเวลาอันยาวนานหลายร้อยปี

ในปี พ.ศ.๒๑๒๙ นักบวชชาวโปรตุเกส ชื่อ อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา ชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ การเปิดตัวปราสาทนครวัดสู่ชาวโลก นั้น กลับเป็นการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา

เมื่อประเทศกัมพูชาตกอยู่ในความปกครองของฝรั่งเศส ตัวเทวสถานหลายแห่ง โดยเฉพาะที่ปราสาทนครวัด ได้รับการอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบัน กลายเป็น สิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก

ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร

ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง ๒๐๐,๐๐๐ ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง ๖๐ เมตร ยาว ๑๐๐ เมตร และกว้าง ๘๐ เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท ๕ หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาว ด้านละ ๑.๕ กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ใช้หินรวม ๖๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างมากกว่า ๔๐,๐๐๐ เชือก และแรงงากเกนคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า ๕๐ กิโลเมตร มาสร้าง

ปราสาทนครวัด มีเสา ๑,๘๐๐ ต้น หนักต้นละกว่า ๑๐ ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม ๑๐๐ ปี ใช้ช่างแกะสลัก ๕.๐๐๐ คน และใช้เวลาถึง ๔๐ ปี

คนที่ชื่นชอบศิลปะ ต้องใช้เวลาเที่ยวชม เฉพาะปราสาทนครวัด เพียงแห่งเดียว ไม่น้อยกว่า ครึ่งวัน กรุณาเตรียมเมมเมอร์รีไปให้มาก...โพสต์ภาพให้ดูเป็นตัวอย่างเท่านั้น